รายงานผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่รอบ กฟผ. แม่เมาะ

การมีส่วนร่วมของชุมชน

โครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549
โดยการเปิดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

คัดเลือกตัวแทนหมู่บ้าน

คัดเลือกตัวแทนหมู่บ้าน

คัดเลือกผู้แทน 15 หมู่บ้านใกล้พื้นที่โโครงการ หมู่บ้านละ 5 คน รวม 75 คน
โดยผู้แทนจะมีการสับเปลี่ยนทุกปี

อบรมให้ความรู้แก่ผู้แทนหมู่บ้าน

อบรมให้ความรู้แก่ผู้แทนหมู่บ้าน

มีการอบรมเรื่องการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประจำทุกปี

ภารกิจผู้แทน

ภารกิจผู้แทน

ผู้แทนร่วมจัดทำแผนตรวจวัดร่วม แจ้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และเสนอแนะ

กองทุน

ปัจจุบันเหมืองแม่เมาะ มี 2 กองทุน
ที่ดูแลสุขภาพแก่ชุมชนรอบพื้นที่โครงการ

ตรวจสุขภาพ

โครงการเหมืองแร่หินปูน
เพื่ออุตสาหกรรมเคมี

กองทุนแร่หินปูน

ครอบคลุมพื้นที่ 3 หมู่บ้าน
ได้แก่ ห้วยคิง แม่จาง และข่วงม่วง

ใช้ในการเฝ้าระวังสุขภาพของชุมชนโดยรอบ พร้อมทั้งได้จัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านสุขภาพ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคจากการประกอบกิจการเหมืองแร่หินปูน

โครงการเหมืองแร่
ลิกไนต์แม่เมาะ

กองทุนเหมืองแร่ลิกไนต์

ครอบคลุมทั้ง 6 ตำบล

ใช้ในการเฝ้าระวังสุขภาพของชุมชนโดยรอบ พร้อมทั้งได้จัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านสุขภาพ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคจากการประกอบกิจการเหมืองแร่

มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง


เหมืองแม่เมาะ เป็นเหมืองลิกไนต์เปิดที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ มีภารกิจหลักในการจัดหาถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตามความต้องการของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เฉลี่ยวันละ 45,000 ตัน หรือคิดเป็น 16 ล้านตันต่อปี โดยมีปริมาณดินที่ต้องขุดออกทั้งสิ้นปีละประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร

เหมืองแม่เมาะได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงาน EIA ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และยังคงดำเนินการตามระบบมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา พบว่าเหมืองแม่เมาะสามารถควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านที่สำคัญ ได้แก่ ฝุ่น เสียง แรงสั่นสะเทือน และคุณภาพน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือดีกว่ามาตรฐานที่ทางราชการกำหนด จากการดำเนินงานการทำเหมืองตลอดจนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนทำให้เหมืองแม่เมาะได้รับรางวัล Thailand Coal Awards 2017 รางวัล ASEAN Coal Awards 2017 และรางวัลเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining Award) ประจำปี 2560 ที่ยืนยันการเป็นสถานประกอบการที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม

dust-manage

มาตรการฝุ่น

เหมืองแม่เมาะได้กำหนดมาตรการการป้องกันผลกระทบด้านฝุ่น เริ่มจากขั้นตอนวางแผนการจัดเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อนเข้าทำเหมือง โดยจัดให้มีรถน้ำราดน้ำถนน และรถสำหรับฉีดพ่นน้ำที่วัสดุก่อนการขุดขน

odor-manage

มาตรการด้านกลิ่น

กลิ่นเกิดจากการลุกไหม้ด้วยตัวเองของถ่านหิน (Spontaneous Combustion) มีมาตรการการควบคุมคือ ควบคุมปริมาณถ่านสำรองไม่ให้มีมากเกินไป โดยกำหนดให้ใช้ถ่านหินที่บดแล้วให้หมดภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อลดการลุกติดไฟ

noise-manage

มาตรการด้านเสียง

เหมืองแม่เมาะได้กำหนดมาตรการการป้องกันผลกระทบด้านฝุ่น เริ่มจากขั้นตอนวางแผนการจัดเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อนเข้าทำเหมือง โดยจัดให้มีรถน้ำราดน้ำถนน และรถสำหรับฉีดพ่นน้ำที่วัสดุก่อนการขุดขน

vibration-manage

มาตรการด้านแรงสั่นสะเทือน

เหมืองแม่เมาะได้นำมาตรฐานความสั่นสะเทือนสำหรับอนุรักษ์โบราณสถานของประเทศออสเตรเลียที่ มาใช้เป็นเกณฑ์ควบคุม นอกจากนี้มีการติดตามตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนบริเวณชุมชนใกล้เคียงพื้นที่โครงการอย่างต่อเนื่อง

water-manage

มาตรการด้านคุณภาพน้ำ

ลดการปนเปื้อนและปริมาณน้ำทิ้งที่ต้องระบายออกสู่ธรรมชาติ โดยสูบน้ำจากบ่อตกตะกอนมาใช้ในเขตเหมืองให้มากที่สุด น้ำทิ้งจากขุมเหมืองจะต้องผ่านการบำบัดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ลำน้ำสาธารณะ

reclaiming-manage

การฟื้นฟูสภาพเหมือง

พื้นที่บ่อเหมืองจะทำการปลูกต้นไม้และพืชคลุมดินเพื่อช่วยลดการชะล้างของดินบริเวณพื้นที่ลาดชันของขอบบ่อเหมือง ดำเนินการรักษาสภาพป่าไม้ในบริเวณแนวกั้นเขตไม่ทำเหมืองโดยรอบพื้นที่โครงการให้เจริญเติบโตเป็นปกติ