เหมืองแม่เมาะ มีการจัดการคุณภาพน้ำจากการทำเหมือง โดยลดปริมาณน้ำทิ้งที่ต้องระบายออกสู่ธรรมชาติ กลับมาใช้เป็นน้ำหมุนเวียนในเขตเหมืองให้มากที่สุด เช่น การสเปร์ยน้ำดับฝุ่นและการฟื้นฟูสภาพเหมือง น้ำส่วนที่เหลือจากการใช้จะนำเข้าสู่ขบวนการบำบัดคุณภาพน้ำ โดยการตกตะกอน และ ใช้ระบบบำบัดทางชีววิธี (Wetland) เพื่อลดปริมาณสารละลายที่ปนอยู่ในน้ำให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2539) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ก่อนระบายลงสู่ลำน้ำสาธารณะ โดย กฟผ. ได้กำหนดจุดตรวจวัดค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS) บริเวณสุดท้ายก่อนออกจากเหมืองจำนวน 2 จุดตามแผนที่แสดงจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ โดยมีสัญลักษณ์จะจำแนกสีตามเกณฑ์มาตรฐาน
ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS) ไม่เกิน 3000 มิลลิกรัมต่อลิตร
ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS) มากกว่า 3000 มิลลิกรัมต่อลิตร
ชื่อพารามิเตอร์ หน่วย | ท้ายน้ำ SW | สะพานหางฮุง | ||
วันที่ | ค่าตรวจวัด | วันที่ | ค่าตรวจวัด | |
ความเป็นกรดและด่าง (pH) |
12 ม.ค. 2564 | 7.9 | 12 ม.ค. 2564 | 7.8 |
ความนำไฟฟ้า (Cond) ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร (µs/cm) | 12 ม.ค. 2564 | 2759 | 12 ม.ค. 2564 | 1836 |
ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS) มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) | 12 ม.ค. 2564 | 2288 | 12 ม.ค. 2564 | 1472 |
ซัลเฟต (SO4) มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) | 12 ม.ค. 2564 | 924.76 | 12 ม.ค. 2564 | 821.66 |