การมีส่วนร่วมของชุมชน

ความเป็นมา โครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549

โดยคัดเลือกตัวแทนชุมชนหมู่บ้านละ 5 คน จากหมู่บ้านที่อยู่ใกล้พื้นที่โครงการและมีสถานีตรวจวัดอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 15 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านห้วยเป็ด บ้านหางฮุง บ้านห้วยคิง บ้านใหม่นาแขม บ้านนาแขมพัฒนา บ้านสบป้าด บ้านสวนป่าแม่จาง บ้านปงต้นปิน บ้านหัวฝาย บ้านท่าสี บ้านสวนป่าแม่เมาะ บ้านหัวฝายหล่ายทุ่ง บ้านแม่จาง บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ และบ้านข่วงม่วงรวมตัวแทนชุมชนทั้งสิ้น 75 คน โดยในแต่ละปีจะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตัวแทนชุมชน เพื่อเข้ามาร่วมตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับ กฟผ. ดังนั้นจึงมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมและการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อมแก่ตัวแทนชุมชน และมีการบรรยายทบทวนความรู้เรื่องการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อมจากวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้าน ทั้งด้านฝุ่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เสียง และแรงสั่นสะเทือน พร้อมทั้งการนำข้อมูลผลการตรวจวัดไปรายงานที่บอร์ดแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อม และตอบข้อซักถามต่างๆ เพื่อให้ตัวแทนชุมชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถเพียงพอในการร่วมกับ กฟผ. ตรวจวัดและรายงานผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่บอร์ดในหมู่บ้านที่ตัวแทนชุมชนอาศัยอยู่ นอกจากนี้ตัวแทนชุมชนยังเข้าร่วมตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของ กฟผ.เหมืองแม่เมาะ เป็นประจำทุกปี

ในช่วงที่มีการอบรมประจำปี ตัวแทนชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการตรวจสอบตรวจวัดร่วม พร้อมทั้งแจ้งปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานในแต่ละปี ให้ กฟผ. รับทราบ เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการการมีส่วนร่วมฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อผ่านการอบรมแล้ว จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนชุมชนอย่างเป็นทางการ สามารถปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ตัวแทนชุมชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตรยังได้เข้าร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการตรวจตามโครงการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ปัจจุบัน กฟผ.ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมเชิงรุก โดยเน้นให้ตัวแทนชุมชนรับทราบข้อมูลผลการตรวจวัดผ่านทางเวปไซด์ และเข้าร่วมประชุมชี้แจงข้อมูลการจัดการสิ่งแวดล้อมในที่ประชุมหมู่บ้านที่มีตัวแทนชุมชนทั้ง 15 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในแต่ละหมู่บ้านได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

คัดเลือกตัวแทนหมู่บ้าน

คัดเลือกตัวแทนหมู่บ้าน

คัดเลือกผู้แทน 15 หมู่บ้านใกล้พื้นที่โโครงการ
หมู่บ้านละ 5 คน รวม 75 คน
โดยผู้แทนจะมีการสับเปลี่ยนทุกปี

อบรมให้ความรู้แก่ผู้แทนหมู่บ้าน

อบรมให้ความรู้แก่ผู้แทนหมู่บ้าน

มีการอบรมเรื่องการตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประจำทุกปี

ภารกิจผู้แทน

ภารกิจผู้แทน

ผู้แทนร่วมจัดทำแผนตรวจวัดร่วม แจ้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และเสนอแนะ

คำสั่งแต่งตั้ง

บอร์ดแสดงผลตรวจวัด

แผนที่แสดงตำแหน่งบอร์ดแสดงผลตรวจวัด